วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเกิดจอประสาทหลุดลอกสาเหตุหลายอย่างจริงหรือไม่


                                       


Ocular ischemic syndrome
           กลุ่มอาการทางตาที่มีอาการจากการไหลเวียนของเลือดที่ลดลงภายในลูกตาทำให้การมองเห็นลดลงทันทีเนื่องจากการลดลงของเลือดที่มาเลี้ยงลูกตา ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการเตือนถึงภาวะของเส้นเลือดในสมองขาดเลือดฉะนั้นการมองเห็นที่มัวลงต้องรีบหาสาเหตุอย่างเร่งด่วนและประเมินอย่างถี่ถ้วนโดยเฉพาะ Carotid artery การขาดเลือดในส่วนหน้าลูกตามักเกิดหลังการผ่าตัด การที่เส้นเลือดบริเวณจอตาอุดตันจะนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรง

     อาการและอาการแสดง
เกิดในช่วงอายุ50-80ปี ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มากกว่า90%ที่การมองเห็นแย่ลง ตามัว ปวดตา เห็นแสงวาบในตา มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคในระบบด้วยอื่นเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยล้างไตที่ทำการฝอกไต
   พบการปวดตาหรือ ตาอักเสบ  ถ้าขยายม่านตาจะพบ blot retinal hemorrhages  กระจกตาบวม  ความดันเลือดที่ไปเลี้ยงตาลดลง   ตรวจพบ cherry-red spot in macula  , cotton-wool spots , retinal nerve fiber layer hemorrhage

     สาเหตุ
การอุดตัน หรือตีบแคบของ Bilateral carotid artery ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ หรืออาจเกิดจากการอุดตันของ internal carotid artery, external carotid artery หรือสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น severe ophthalmic artery occlusion, การผ่าตัดที่ต้องมีการโดนตำแหน่งของหลอดเลือด เช่น rectus muscles   เป็นสาเหตุให้มีการขาดเลือดส่วนหน้าลูกตาได้

     ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าเส้นเลือด Carotid อุดตัน ส่งผลให้เส้นเลือดในตาอุดตันด้วย ทำให้เกิดภาวะลูกตาขาดเลือด ซึ่งทำให้เกิด

      Retinal neovascularization, rubeosisiridis, cells and flare, iris necrosis, and cataract    และอาจทำให้เกิด neovascular glaucoma. ได้จากการเพิ่มขึ้นของความดันลูกตา

     การรักษาและการจัดการ
รีบหาสาเหตุและรีบให้การรักษาเพื่อคงไว้ซึ่งการมองเห็นและชีวิตของผู้ป่วยในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงกรณณีมีAtherosclerosis, deep venous thrombosis, aerial fibrillation, pulmonary thromboembolism  ซึ่งจะนำไปสู่หลอดเลือดสมองขาดเลือด ขั้นตอนในการประเมินและป้องกันอาการดังกล่าวจึงมความจำเป็นมาก

     Retinal arterial occlusion ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางตาและต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน จอตาจกโดนทำลายภายใน 90นาที รีบให้พยาบาลเบื้องต้น ด้วยการนวด ตาเพื่อเพิ่ม blood flow ภายในตา และให้ยาร่วมด้วยได้แก่ 500 มก. IV acetazolamide และ 100 มก.IV methylprednisolone    ตัวยาจะมีกระบวนการ การลดความดันลูกตา และลดการอักเสบของหลอดเลือดสามารถประเมินอาการโดย ตรวจวัดการมองเห็น ตรวจลานสายตา และการตรวจด้วย Ophthalmoscope

ระยะต่อมา จะทำการยิง Laser PRP (pan-retinal photocoagulation) เพื่อทำลายเส้นเลือดงอกใหม่การดำเนินของโรคจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและความรวดเร็วของการรักษาและการวินิจฉัยสิ่งรุนแรงคือจะนำไปสู่ภาวะหัวใจและสองขาดเลือด

     จอประสาทตาลอก (Retinal detachment) คือการลอกของชั้น sensory retinal ออกจากชั้น retinal pigment epithelium(RPE) โดยมีน้ำ(Subretinal fluid) แทรกอยู่ใต้ชั้น sensory ทำให้จอประสาทตาลอก

   จอประสาทตาลอก แบ่งตามสาเหตุได้ 3 ชนิด 

            1. Rhegmatogenous retinal detachment(RRD) คือ จอประสาทตาลอกเนื่องจากมีรอยฉีกขาดของจอประสาทตา(Rhegma เป็นภาษากรีก แปลว่าฉีกขาด) การฉีกขาดอาจเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดจากการเสื่อมของจอประสาทตา จึงทำให้จอประสาทตาส่วนนั้นบางลงและเกิดรูฉีกขาด น้ำจากวิเทรียสจะเซาะผ่านรูฉีกขาดเข้าไปใต้ sensory retina กับชั้นของ RPE ที่เรียกว่า subretinal space ทำให้มีการลอกหลุดของจอประสาทตาทั้ง 2 ชั้นออกจากกันจะเห็นจอประสาทตาที่ลอกเป็นสีขาวเทา      หลังจากนั้นจะทำให้เกิดแรงดึงของ vitreous ต่อ retinaเกิด RRD ชั้นของ Retina cell ก็จะถูกกระตุ้นจาก vitreous cytokines ทำให้ RPE เปลี่ยนไปเป็น epithelium mesenchymal transition(EMT)ซึ่งมีความสามารถที่จะงอกผ่านเข้าไปในvitreousได้และเกิดการยึดติดกันระหว่างชั้นRPE cellกับ neural retinal และเกิดเป็นRPE cell ที่มีความยาวมากกว่าปกติเรียกว่า RPE-ECM (extracellular matrix)เซลล์พวกนี้จะไม่มีแรงยึดติดกัน RPE cellที่มีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดที่บริเวณใดก็จะเกิดการดึงรั้งต่อ retina ในที่สุดก็เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตาซ้ำได้อีก                                                                                             
           Proliferative Vitreoretinopathy (PVR
                                          
                คือโรคที่เกิดหลังจาก RRD จากกระบวนการหายของแผลในลูกตา preretina หรือ subretina membrane เป็นเนื้อเยื่อพังผืดเจริญเข้าไปใน vitreousทำให้เกิดการดึงรั้งจอประสาทตาเป็นเหตุให้รูฉีกขาดขยายมากขึ้น หรือเกิดแรงดึงทำให้จอประสาทตาหลุดลอกมากขึ้น อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ ในระยะแรกๆ PVR ที่ปรากฏให้เห็นจะขุ่น ในระยะนี้ retina ยังคงไม่ได้รับความเสียหายมาก หากทิ้งไว้ในระยะต่อมา PVR ก็จะเห็นชัดขึ้นเป็นพังผืดสีขาวใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จอประสาทตาแข็งและยากต่อการเอา PVR ออก                                                                                                                               
การแบ่ง  Grade ของ PVR                                                                         
       Grade A ลักษณะจะเห็น vitreous ขุ่น และพบมี RPE cell ใน   vitreous                                                 Grade B ลักษณะมีรอยย่นที่ขอบของ retina ที่ขาด หรือรอยย่นบนผิวของ retina                                    - Grade C ลักษณะจะเห็น retina membrane ปรากฏชัดเจน

 2.Tractional retinal detrachment (TRD) คือ sensory retina ถูกดึงแยกจาก RPEโดย vitreoretinal membraneส่วนใหญ่เกิดจาก proliferative diabetic retinopathy (PDR)หรือเกิดจากบาดแผลทะลุลูกตา(Penetrating injury)โดยเกิดพังผืด (fibrous tissue) จาก retina เข้าไปในวุ้นตา ต่อมามีการหดตัวของเยื่อเหล่านี้และดึงรั้งทำให้เรตินาลอก

  3.Exudative retinal detachment เกิดจาก exudates จากชั้นคอรอยด์ผ่านชั้น RPE ไปสะสมใต้ชั้นsensory retina และเซาะให้เรตินาลอกอาจมีสาเหตุเนื่องจาก เนื้องอกหรือการอักเสบในชั้นคอรอยด์แต่จอประสาทตาลอกส่วนใหญ่ที่พบเป็นชนิดจอประสาทตาลอกชนิดมีรู                                                       

      อาการแสดง                                                                                                                                  เรตินาลอกที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิด Rhegmatogenous retinal detachment (RRD)ซึ่งมีอาการแสดงคือ
          1.อาการเริ่มแรกของผู้ป่วยคือเห็นแสงวาบระยิบระยับ (light flashes)หรือ(photopsia)เกิดจาก Posterior vitreous detachment โดยวุ้นตาแยกตัวจากที่เกาะที่เรตินาและมีการดึงรั้งระหว่างวุ้นตา ส่วนที่เกาะกับ เรตินาบริเวณ periphery (vitreoretinal traction)ทำให้มีการกระตุ้นต่อเรตินาเกิด nerve impulse ไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นจึงเห็นเป็นแสงวาบขณะกรอกตา

          2ผู้ป่วยอาจเห็นจุดหรือเงาดำคล้ายใยแมงมุมลอยในน้ำวุ้นตา(Vitreous floater)เกิดจากชิ้นส่วนของจอตาที่ฉีกขาด ลอยอยู่ในน้ำวุ้นตาหรือมี fibril รวมตัวกันเป็นก้อนขุ่นอยู่ในVitreous หรือรอยฉีกขาดของจอตามีเส้นเลือดพาดผ่านทำให้มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาเห็นเป็นจุดดำลอยในน้ำวุ้นตาได้ หรือรอยฉีกขาดมีขนาดใหญ่อาจมี Pigment กระจายออกทำให้เห็นจุดดำลอยไปมาได้

          3.ม่านบังตา(Visual field defect) เมื่อน้ำจากน้ำวุ้นตาเซาะผ่านรอยฉีกขาดของจอตาทำให้จอตาลอกหลุดออกบริเวณที่จอตาลอกหลุดจะมีลานสายตาเสียไป  จะเห็นเป็นเงาบังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

          4.การมองเห็นลดลง (Decrease visual acuity) ผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาลอกลุกลามมาถึง macular จะทำให้การมองเห็นบริเวณตรงกลางลดลง  การที่ระดับสายตาจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใดหลังผ่าตัดขึ้นกับระยะเวลาที่เกิดการลอกตัวของจอประสาทตาบริเวณ macular ว่าเป็นนานเท่าใด  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการตามัว  ซึ่งเป็นระยะหลังของโรคแล้ว ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเริ่มแรกเช่น flashes , floater หรือ falling  curtain   พบได้น้อยกว่า          
      
                  สิ่งตรวจพบ                                                                                                                                     - ตรวจสายตา จะพบสายตามัวลง เมื่อจอตาลอกหลุดถึงบริเวณ macular ถ้ายังลอกหลุดไม่ถึง            macularผู้ป่วยอาจมีสายตาปกติ แต่จะตรวจพบความผิดปกติของลานสายตา                                           - ตรวจความดันของลูกตาจะต่ำกว่าข้างปกติ                                                                                     - ตรวจดู red reflex  ด้วย Direct ophthalmoscope  ส่องดูที่ระยะห่างจากตาประมาณ 1  ฟุตจะพบ  gray reflex  ในส่วนของจอตาที่ลอกหลุดแต่ยังเห็น  red reflex  ที่จอตาปกติ                                                    - ตรวจดูจอตา จะพบว่า ส่วนของจอตาที่ลอกหลุด จะมีสีขาวเทาพื้นจอตามีลักษณะเป็นรอยย่นไม่   
           Vitreous homorrage เกิดจาก
            -  retinal tear ผ่าน retinal blood vessels มีอาการเกิดขึ้นทันทีคือ มองเห็นจุดดำกระจายเต็มตา
            -  rupture ของ neovascular เนื่องจากเส้นเลือดงอกใหม่นี้
บอบบาง สาเหตุของ neovascular คือ traua,  inflammation, vascular and metabolic disease, tumor เรียบ และพบมีเส้นเลือดคดเคี้ยว ( tortuosity



   การรักษา                                                                                                                                                 ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดให้นอนนิ่ง เพื่อให้เรตินาราบลง เป็นป้องกันมิให้เกิดการลอกหลุดมากยิ่งขึ้นแล้วจึงผ่าตัด การผ่าตัดรักษาเรตินาลอกมีหลายวิธีแต่มีหลักการคือ ทำการปิดรูฉีกขาดและลดการดึงรั้งของวุ้นตาที่มีต่อเรตินาซึ่งมีวิธีผ่าตัดต่างๆดังนี้

   1. Pneumatic retinopexy หมายถึง การผ่าตัดฉีดอากาศหรือแก็สที่ขยายตัวได้เช่น C3F8 ( Perfluorocabon)หรือ SF6  (Sulfur hexafluoride ) เข้าไปในน้ำวุ้นลูกตาและจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหรือนั่งในตำแหน่งที่แก็สลอยตัวขึ้นไปอุดรูขาด เพื่อให้เกิดการซึมกลับของ (Subretinal fluid) และทำให้มีการติดกลับเข้าที่ของจอประสาทตา แล้วทำให้มีการเชื่อมติดกันของจอประสาทตากับคอรอยด์ด้วยเลเซอร์

          2. เพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างชั้น  Sensory  retina และ RPE ที่นิยม
      2.1 Cryoretinopexy  คือ การจี้ความเย็นผ่าน sclera เข้าไปที่จอประสาทตา บริเวณที่ถูกจี้ด้วยความเย็นจะเกิด necrosis และจะเกิดพังผืดตามมา และพังผืดนี้จะเป็นตัวยึดให้จอประสาทตาติดกับคอรอยด์ นิยมใช้ในกรณีที่ retinal break อยู่ค่อนมาทางด้าน anterior
     2.2 Endolaser คือ การจี้ด้วยแสงเลเซอร์ภายในลูกตาระหว่างผ่าตัด อาจใช้ผ่าน Endolaser System ระหว่างการผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตาได้ โดยแสงเลเซอร์วิ่งมาตามสายใยแก้วนำแสงและเข้าลูกตาทาง Sclerotomy โดยยิง Endo laser 360 องศา. รอบๆ รูที่ฉีกขาดและรอบ ๆรูที่แพทย์เจาะระบาย Subretinal fluid 
ข้อบ่งชี้ในการรักษาได้แก่
                        -จี้ห้ามเลือด                                                                                                                                 -จี้ปิดรูฉีกขาดของจอตา                                                                                    
                        -Scatter Photocoagulation                                                                                                               -จี้ขยายรู ม่านตา                                                                                                                            -จี้ทำลายเส้นเลือดออกที่ม่านตา
              
  การจี้จอตาด้วยเลเซอร์ในตาที่ฉีดก๊าซ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดจอตาฉีกขาดหรือเลือดออกที่จอตา เนื่องจากก๊าซมีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อน ดังนั้น การระเหยความร้อนไม่ดีทำให้เกิดปฏิกิริยา จากการจี้รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น อาจเกิดการระเบิดของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ทำให้เกิดจอตาฉีกขาดได้ ในกรณีที่เกิดจอตาฉีกขาดนั้น ให้จี้บริเวณรอบๆรูฉีกขาดด้วยความเข้มของพลังแสงต่ำกว่าเพื่อให้เลือดหยุดไหล และทำให้
เกิดการยึดแน่นรอบๆรูฉีกขาด จอตาฉีกขาดอาจเกิดหลังผ่าตัดโดยเกิดจากจอตาที่ตายหลังการจี้ด้วยแสงเลเซอร์ โดยเฉพาะมีแรงดึงรั้งจอตาบริเวณนั้น หรือจอตาลอกหลุดที่เกิดจากแรงดึงรั้ง

3.  Scleral  buckling  ( การผ่าตัดรัดบริเวณตาขาว ) 
             เป็นการผ่าตัดซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดการหดตัวของตาเพื่อให้ตามีขนาดเล็กลง  retinal  pigment  epithelium  จะถูกดึงเข้าหา  sensory  retina  ที่หลุดลอกออกมาและติดกันดังเดิม   โดยการผ่าตัดด้วยการวาง buckle (explants ) บนตาขาว (sclera ) ตรงตำแหน่งที่มีรูขาดหรือรูรั่ว  ในกรณีที่รูขาดใหญ่มาก หรือค่อนมาทางด้านหลังค่อนข้างมากก็จะผ่าตัดโดยรัดด้วย  encircling band ทับบน  buckle อีกทีหนึ่ง อาจทำร่วมกับการเจาะ drain subretinal fluid  คือการเจาะเอาน้ำที่อยู่ใต้ชั้นของจอประสาทตาออก  โดยเจาะทะลุผ่านตาขาว (sclera ) ทำให้จอประสาทตา sensory retina  ราบลงมาติดกับ  retnal  pigment  epithelium  การทำให้เชื่อมติดกันระหว่างชั้นที่ลอกอาจทำได้โดยการใช้  diathermy  หรือ laser , cryotherapy(จี้เย็น)    
      
  4.   Pars  plana   vitrectomy  (การผ่าตัดน้ำวุ้นตา)
            คือ การผ่าตัดน้ำวุ้นตา  เพื่อรักษา โรคทางจอประสาทตา โดยการตัดน้ำวุ้นตาจะช่วยลดการดึงรั้งของน้ำวุ้นตา   และช่วยให้ แพทย์มองเห็นจอประสาทตาชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถมองเห็นรูขาดหรือการดึงรั้งในจอประสาทตาได้   
                                                      

ข้อมูลจาก

           ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล ตำราพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา2551.

  http://dr.yutthana.com/retina.html
                

เบาหวานขึ้นตาโรคที่ควรรู้





          โรคเบาหวานขึ้นตาหรือเบาหวานขึ้นจอตา หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายทั้งหลอดเลือดที่จอตาด้วยเลือดและสารต่างๆจะรั่วซึมออกจากหลอดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้และทำให้เกิด ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (diabetic retinopathy ; DR ) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะตามความรุนแรงขอลโรคคือ ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ ผู้ป่วยที่มีเบหวานขึ้นจอตาในระยะแรกมักไม่รู้สึกผิดปกติๆ เมื่อตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา หากมีการรั่วซึมของหลอดเลือดจะพบจอตาบวมและเริ่มมีอาการตามัว หากโรคลุกลามมากขึ้นจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจะทำให้เกิดภาวะจอตาขาดเลือดซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลืดใหม่ (neovascularzation) หลอดเลือดเหล่านี้มีลักษณะเปราะและแตกง่าย ทำให้เกิดเลือดออกในตาและเกิดพังผืดดึงรั้งจอตา ผู้ป่วยมักมีสายตาแย่ลงอย่างมากทั้งจากเลือดออกและจอตาลอก หากท่านเป็นเบาหวาน ควรรักษาให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามสุขภาพ
รับประทานยาเบาหวานอย่างสม่ำ เสมอ ปฏิบัติตามแพทย์เบาหวาน และพยาบาลแนะนำ พบแพทย์รักษาเบาหวานสม่ำ เสมอ นอกจากนั้น ไม่ควรลืมที่จะไปรับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ และปฏิบัติตามจักษุแพทย์แนะนำ สม่ำเสมอเช่นกัแนะนำ สม่ำเสมอเช่นกัน


          การรักษา
     ในระยะที่เบาหวานขึ้นจอตาไม่มาก จักษุ แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมโรคเบาหวานให้ดี และนัดมาดูเป็นระยะๆ สำหรับระยะที่มีเบาหวานขึ้นจอตามากจนถึงระดับหนึ่ง จำเป็นต้องฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตาเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของหลอดเลือด และในกรณีที่เข้าสู่ระยะท้ายๆ จักษุแพทย์จะใช้การผ่าตัด
จักษุแพทย์สามารถช่วยไม่ให้คนไข้เบาหวานตาบอดได้ด้วย การใช้แสงเลเซอร์ทำลายเส้นเลือดที่ผิดปกติในจอรับภาพ ทั้งนี้การใช้แสงเลเซอร์ไม่สามารถช่วยให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับคืนได้ หลักการคือใช้เลเซอร์ฉายลงไปตรงเส้นเลือดงอกใหม่เพื่ออุดเส้นเลือดและฉายลง บนจอรับภาพทั่วไปเพื่อลดการเกิดเส้นเลือดใหม่ เพราะเส้นเลือดที่งอกใหม่มีผนังบางแตกง่าย และลดการเกิดจอประสาทตาลอก
การผ่าตัดน้ำวุ้นตา ในกรณีที่มีเส้นเลือดแตกและเลือดคั่งอยู่ในน้ำวุ้นตา ทำให้มองไม่เห็น ถ้าเลือดไม่
สามารถดูดซึมเองได้หมด จะต้องผ่าตัดเอาออก เพื่อทำให้มองเห็นดีขึ้นและสามารถฉายเลเซอร์รักษา
เบาหวานขึ้นตาได้
สามารถดูดซึมเองได้หมด จะต้องผ่าตัดเอาออก เพื่อทำให้มองเห็นดีขึ้นและสามารถฉายเลเซอร์รักษา
เบาหวานขึ้นตาได้
การรักษาโดยการผ่าตัด ทำในรายที่มีเลือดออกในวุ้นตา และจอตาหลุดลอก โรคในระยะนี้ แม้จะได้รับการรักษาแล้ว แต่สายตาอาจจะไม่กลับมาดีดังเดิมได้
ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์เจริญมากขึ้น มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาในระบบดิจิตอล ใน การตรวจคัดกรองผู้ป่วย แพทย์สามารถถ่ายภาพจอประสาทตาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตาและบันทึก ภาพออกมาได้ทันที ซึ่งช่วยในการเก็บข้อมูลและช่วยในการพิจารณาตัดสินให้การรักษาได้ทันที ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยในการป้องกันมิให้เกิดตาบอดหรือสายตาพิการ
ผู้ที่เป็นเบาหวานมา นานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่าร้อยละ 80 การดูแลตัวเองที่ดีจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาได้
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระดับปกติ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ
ตรวจ กับจักษุแพทย์อย่าง น้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจตาอย่างละเอียด จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนหรือสามารถขจัดปัญหาทางตาได้ตั้งแต่เริ่มแรก และถ้าพบว่าเบาหวานขึ้นตาแล้ว ต้องกลับไปตรวจเป็นระยะๆ
ถ้ามีอาการตามัว ควรไปพบจักษุแพทย์ทันที





(ข้อมูลจากราชวิลัยจักษุแห่งประเทศไทย)